• This topic is empty.
กำลังดู 7 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 7 (ของทั้งหมด 7)
  • ผู้เขียน
    ข้อความ
  • #398 Reply
    CoP Admin
    Keymaster

    แนวโน้มของการพัฒนากระบวนการและวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อเข้าสู่การทำงานควรจะมีรูปแบบหรือเป็นลักษณะอย่างไรที่จะสอดคล้องกับคริสตจักรไทยและสังคมไทยในอนาคต

    #409 Reply
    อาริษา วงค์ทอง
    ผู้เยี่ยมชม

    แนวโน้มเพื่อการพัฒนาไปสู่สถาบันการศึกษาตามมาตรฐานสากลเพื่อบัณฑิตสามารถทำงานให้กับหน่วยงานใดก็ตามหรือหน่วยงานที่ใดในโลก นักศึกษาควรมีทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการเรียนรู้และการติดต่อสื่อสาร โดยมุ่งเน้นด้านการอ่านและการฟังจับใจความที่รวดเร็วและหลากหลาย เช่นการอ่านอรรถาธิบายพระคัมภีร์ที่เป็นภาษาอังกฤษ การอ่านข่าวต่างประเทศเพื่อรับรู้ความเป็นไปของโลกซึ่งสามารถหาข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วบนโลกอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้มุ่งเน้นด้านการเขียนให้มีความกระชับ ได้ใจความที่ชัดเจน รวมทั้งความสามารถในการนำเสนอความรู้ในเวลาสั้นๆ ให้ได้ใจความครบถ้วน ชัดเจน จะช่วยประหยัดเวลาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในการเตรียมเทศนาหรือเตรียมสอน

    ในมุมมองของห้องสมุด ห้องสมุดในอดีตอาจมีภาพลักษณ์เป็นคลังหรือที่เก็บรวบรวมหนังสือโบราณหรือประวัติศาสตร์ แต่ในปัจจุบัน แนวคิดเกี่ยวกับห้องสมุดถูกเปลี่ยนเป็นคลังข้อมูลสารสนเทศ (Digital Repository) ที่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งการใช้ข้อมูลร่วมกันเพื่อการศึกษา การวิจัย โดยมีบรรณารักษ์เป็นผู้อำนวยให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้จากห้องเรียน นอกจากนี้ ห้องสมุดควรมีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้งานพึ่งพิงได้ เนื่องจากมีการกลั่นกรองทางวิชาการมาแล้วในขั้นหนึ่ง ดังนั้น ห้องสมุดจึงเป็นอีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้และช่วยเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา

    #412 Reply
    วิริยะ ทิพยวรการกูร
    ผู้เยี่ยมชม

    แนวโน้มของการพัฒนากระบวนการและวิธีการเตรียมนักศึกษาเพื่อเข้าสู่การทำงานควรจะมีรูปแบบหรือเป็นลักษณะอย่างไรที่จะสอดคล้องกับคริสตจักรไทยและสังคมไทยในอนาคต

    การเตรียมความพร้อม เราควรสมดุลระหว่าง สิ่งที่ดีที่เคยทำมาแล้ว และสิ่งใหม่ท่ีเราควรพัฒนา จำต้องระวังที่เราจะคิดว่า สิ่งใหม่ดีกว่าสิ่งเก่า คนรุ่นใหม่ควรใช้วิธีการใหม่เสมอไป สิ่งดีที่เราเคยทำมา คือการเรียนรู้ผ่านครู ผ่านระบบพี่เลี้ยง ผ่านคนที่ได้สอนอยู่ด้วยกัน การฝึกวินัยตั้งแต่แรกเริ่ม ฝึกเรื่องการนอนตรงเวลา ตื่นเช้าเฝ้าเดี่ยว การทำเวร (ทำงานอย่างมีความรับผิดชอบ) การมีกิจกรรมร่วมกัน การเรียนในห้องเรียน การมีการนมัสการทุกวัน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งดี เพราะการพัฒนาชีวิตที่แท้จริง จำต้องมีพี่เลี้ยงฝ่ายวิญญาณ ต้องมีครูที่สอน แต่ส่วนที่เราต้องพัฒนา คือการเพิ่มทักษะให้นักศึกษารู้ค้นหาข้อมูลด้วยตัวเอง รู้จักเลือกข้อมูลที่ดี รู้จักอ่านหนังสือเชิงวิเคราะห์ (critical thinking) ซึ่งเป็นสิ่งที่คนไทยขาดมาแน่ไหนแต่ไหน รู้จักถกปัญหายากๆ (เช่น LGBTQ กับคริสตจักร, คริสเตียนกับการเมือง, องค์กรศาสนากับการเมืองในสภาฯ, ผู้รับใช้ฆราวาส และผู้รับใช้เต็มเวลา, จำเป็นที่ศิษยาภิบาลต้องผ่านสถาบันพระคริสตธรรมแบบเป็นระบบไหม, พระวจนะเกี่ยวข้องกับชีวิตคริสเตียนอย่างไร เป็นต้น) เป้าหมายหลักคือ ให้นักศึกษา engage กับโลกปัจจุบันให้มากที่สุด ส่วนเรื่องที่หลายคนสนใจ คือการใช้เทคโนโลยีในการรับใช้ สำหรับผมเห็นว่าสำคัญด้วย แต่เป็นเรื่องสุดท้าย เพราะโลกดิจิตอลอาจสำคัญ แต่นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้จากนอกสถาบันได้ดีกว่า สุดท้าย ควรให้นักศึกเปิดโลกกว้าง กับคำถามอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม (ดังที่กลา่าวไปแล้ว) แต่ต้องไม่สูญเสียจุดยืนที่สำคัญ คือความเข้าใจเรื่องพระวจนะอย่างถ่องแท้ เพื่อนักศึกษาจะออกไปเป็นผู้นำฝ่ายวิญญาณ นำความจริงแห่งข่าวประเสริฐ ให้คำตอบกับโลกที่กำลังค้นหาทางออกอย่างเหมาะสมอยู่่

    #418 Reply
    อนุสรณ์ คชเกร็ง
    ผู้เยี่ยมชม

    นักศึกษาควรได้รับการฝึกฝนให้อยู่กับชุมชนและให้ชีวิตมีผลกระทบต่อชุมชนให้มากที่สุดเพราะนี่คือจุดเริ่มต้นของกระบวนการทำงานทั้งในคริสตจักรและพันธกิจ ในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องมีแนวคิดให้กว้างในระดับสากลเพื่อที่จะสามารถมองโลกและสิ่งต่างๆ ได้กว้างขึ้นในการที่จะริเริ่มอะไรใหม่ๆ รวมไปถึงประยุกต์สิ่งต่างๆ ที่ดีให้เหมาะกับบริบทของตนเอง

    #422 Reply
    วรพจน์
    ผู้เยี่ยมชม

    ก่อนที่จะรู้แนวโน้ม เราต้องรู้ก่อนว่านักศึกษาให้ความสนใจอะไรก่อนที่จะจบออกไปเพื่อที่จะแนะนำรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมกับตัวนักศึกษาได้เพื่อเป็นการตอบโจทย์ของนักศึกษาอย่างตรงประเด็น หลังจากนั้นค่อยมาพูดถึงภาพรวมของแนวทางการรับใช้ในปัจจุบันควรคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง เพื่อทางสถาบันฯจะได้เตรียมวิธ๊การและคำแนะนำอย่างเหมาะสมที่สุดให้กับนักศึกษานั้นๆต่อไป โดยที่แนวโน้มในการรับใช้ในปัจจุบันเป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรและหน่วยงานมากกว่าการรับใช้แบบปกครองตัวเองอย่างเดียวเหมือนที่เคยเป็นมา

    #426 Reply
    วันดี วจนะถาวรชัย
    ผู้เยี่ยมชม

    ด้านวิชาการ คณะฯได้ปรับวิชาหลักและวิชาเสริมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของคริสตจักรในปัจจุบัน เช่นวิชาประเด็นทางคริสตศาสนศาสตร์ มุ่งเน้นให้นักศึกษามีจุดยืนต่อปัญหาของคริสตจักรและสังคมเช่น เรื่องกฏหมายการทำแท้ง การแต่งงานของคนเพศเดียวกัน LQBTQ+ เป็นต้น
    ด้านทักษะการรับใช้ เพิ่มศักยภาพนักศึกษาด้วยการอภิบาลในรูปแบบการให้คำปรึกษาชีวิตในด้านต่างๆเช่นการรับมือกับความเครียด โรคซึมเศร้า ชีวิตสมรส และการเลี้ยงลูก เป็นต้น โดยนำหลักคริสตศาสนศาสตร์เป็นพื้นฐานในการแก้ไขและป้องกันปัญหาต่างๆในคริสตจักร
    ชีวิตฝ่ายวิญญาณ มุ่งเน้นการสร้างตัวตนภายใน เช่นวัตถุประสงค์ของชีวิต สันติสุข ความชื่นชมยินดี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณลักษณะชีวิตภายนอก เพื่อเป็นผู้นำฝ่ายวิญญาณในช่วงของการเปลี่ยนแปลง และอนาคตที่จะมาถึง

    #430 Reply
    อุไรวรรณ
    ผู้เยี่ยมชม

    การเตรียมความพร้อมนักศึกษาในด้านวิชาการ ทักษะการปฏิบัติงานและด้านชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณคริสเตียน เพื่อเข้าสู่การทำงาน เนื่องจากในสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งสภาพสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการปรับตัว เปลี่ยนแปลง รวมถึงการพัฒนาตนเองผ่าน “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” เพื่อปรับความรู้ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยอาจมีการสำรวจหรือศึกษาสภาพสังคมในปัจจุบัน และการดำเนินพัธกิจของคริสตจักรไทย เพื่อนำมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมส่งเสริมนอกห้องเรียนทให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันมากขึ้น

กำลังดู 7 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 7 (ของทั้งหมด 7)
ตอบกลับไปยัง: ประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ข้อ 3)
ข้อมูลของคุณ: